บริดจ์ (Bridge)

บริดจ์ (Bridge)  เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้แบ่งเครือข่ายออกเป็นเซกเมนต์ที่ไม่เกี่ยวข้องกันแต่ว่าถูกดูแลอยู่ภายใต้เครือข่ายเดียวกัน ซึ่งบริดจ์จำทำหน้าที่ในชั้น Data Link Layer โดยจะมองข้อมูลเป็นเฟรม ซึ่งจะแตกต่างจากฮับหรือรีพีตเตอร์ที่จะมองข้อมูลในระดับบิต นอกจากบริดจ์จะทำหน้าที่แบ่งเครือข่ายออกเป็น 2 เซกเมนแล้วยังทำหน้าที่กลั่นกรองข้อมูลให้อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน มันจะกันไม่ให้เฟรมข้อมูลนั้นไปรบกวนอีกเซกเมนหนึ่ง

หรือจะสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย (Broadcasting) ดังนั้น จึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่าย บริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้ บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูล ระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่าย ของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเก็นริง เป็นต้น หากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงคือ เราเตอร์ (Router)

การทำงานของ Bridge

หลักการทำงานของ Bridge จะดูแลข้อมูลที่ส่งโดยพิจารณาหมายเลขของเครื่อง หรือตามศัพท์ทางเครือข่าย คือ Media Access Control (MAC Address หรือ Station Address) Bridge จะทำงานใน Data Link Layer หรือ Layer ที่ 2ของ OSI โมเดล คือ มองข้อมูลที่รับส่งกัน เป็น Packet แล้วเท่านั้น โดยไม่ต้องสนใจโปรโตคอลสื่อสารที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็น IP หรือ IPX หรือโปรโตคอลใด ๆ หรือก็คือ ไม่ว่าจะเป็น Packet อะไรส่งออกมาในเครือข่าย Bridge จะดูเฉพาะ Address ปลายทางแล้วถ้าพบว่าเป็นเครื่องที่อยู่คนละฟากกันก็จะส่งต่อให้เท่านั้น ไม่สนใจว่าการส่งให้ถึงเครื่อง ที่เป็นผู้รับปลายทางนั้นอาจทำได้หลายเส้นทางต่าง ๆ กัน

ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของ Bridge คือในขณะที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูลไปยังอีกเครื่องหนึ่ง แต่ไม่ทราบ Station Address จะมีการส่งข้อมูล พิเศษที่เรียกว่า Broadcast Frame เข้าไปในเครือข่าย เมื่อข้อมูลนั้นผ่านมาที่ Bridge ก็จะมีการส่งข้อมูลBroadcast นี้ต่อไปยังทุกเครือข่ายย่อยทั้งหมดที่ ตนอยู่ โดยไม่มีการเลือกหรือกลั่นกรองใด ๆ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทั้งหมดถูกขัดจังหวะเพื่อรับข้อมูลดังกล่าว ดังนั้นถ้าข้อมูลที่ Broadcast มากก็จะ ทำให้เครือข่ายมีปัญหาเรื่องปริมาณข้อมูลหนาแน่น และความเร็วในการทำงานลดลงได้





บริดจ์ (Bridge) บริดจ์ (Bridge) Reviewed by Howto on 08:14:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.